สัญญาเพิ่มเติมค่ารักษาพยาบาล AIA Health Saver


ยกเว้น เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรืออวัยวะเทียมภายนอกร่างกาย เช่น เครื่องช่วยฟัง , แว่นตา , เลนซ์ , เครื่องช่วยหายใจ , เครื่องวัดชีพจร , เครื่องช่วยค้ำยันต่างๆ และอวัยวะเทียมอื่นๆ
ข้อกำหนดของสัญญา
- สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมนี้ได้ ตั้งแต่ อายุ เริ่มต้น 15วัน – 75 ปี คุ้มครองถึงอายุ 98 ปี
- ผู้ป่วยใน หมายถึง ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล อย่างน้อย 6 ชั่วโมงติดต่อกัน
- สัญญาเพิ่มเติมนี้ใช้บังคับ เมื่อการเจ็บป่วยเกิดขึ้นภายหลัง 30 วัน ถัดจากวันทำสัญญานี้ หรือ วันต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมนี้ ยกเว้น โรค 4 ชนิดนี้ ระยะเวลารอคอย 120 วัน คือ
- ไส้เลื่อนทุกชนิด
- ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก
- การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- การรักษาด้วยโรคเดียวกัน โดยที่ระยะเวลาการเข้ารักษาในโรงพยาบาลแต่ละครั้งห่างกันไม่เกิน 90 วัน ให้ถือว่าเป็นการรักษาต่อเนื่องกัน
ข้อยกเว้นทั่วไป
- โรคเรื้อรัง การเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บที่ยังรักษาไม่หายก่อนวันทำสัญญาประกันภัย
- การตรวจรักษาหรือการผ่าตัดเพื่อเสริมสวย เว้นแต่ เป็นการตกแต่ง บาดแผลอันเกิดจากอุบัติเหตุที่ได้รับความคุ้มครอง
- การตั้งครรภ์ แท้งบุตร ทำแท้ง การคลอดบุตร โรคแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ การทำหมัน หรือการคุมกำเนิด
- การตรวจรักษา เพื่อชะลอความเสื่อมวัย , การให้ฮอร์โมนทดแทนวัยใกล้หมดระดู การเสื่อมสรรถภาพทางเพศ , การแปลงเพศ
- การตรวจสุขภาพทั่วไป การร้องขอเข้าอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาล การตรวจวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุที่ไม่ใช่คาวมจำเป็นทางการแพทย์
- การตรวจรักษาความผิดปกติเกี่ยวกับสายตา การทำเลสิค ค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์เพื่อช่วยในการมองเห็น
- การตรวจรักษา หรือผ่าตัด เกี่ยวกับฟันหรือเหงือก การทำฟันปลอม อุดฟัน จัดฟัน ยกเว้น กรณีจำเป็นจากการบาดเจ็บโดยอุบัติเหตุ
- การรรักษาหรือการบำบัด การติดยาเสพติดให้โทษ บุหรี่ สุรา หรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
- การตรวจรักษา อาการ หรือโรคเกี่ยวกับภาวะทางจิตใจ , โรคจิตเวช รวมถึง ความเครียดหรือความวิตกกังวล
- การตรวจรักษา อาการหยุดหายใจขณะหลับ หรือความผิดปกติของการนอนหลับ การนอนกรน
- การปลูกฝีหรือการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ยกเว้น การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ภายหลังการถูกสัตว์ทำร้าย และวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ภายหลังได้รับการบาดเจ็บ
- การตรวจรักษาที่ไม่ใช่แผนปัจจุบัน รวมถึงแพทย์ทางเลือก
- ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการตรวจรักษา ซึ่งแพทย์สั่งให้แก่ตัวเอง รวมทั้ง บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ของผู้เอาประกันภัย
- การฆ่าตัวตาย การพยายามฆ่าตัวตาย การทำร้ายร่างกายตนเอง รวมถึงอุบัติเหตุที่เกิดจากผู้เอาประกันภัยกิน ดื่ม หรือฉีดยา หรือมีสารพิษเข้าร่างกาย การใช้ยาเกินกว่าที่แพทย์สั่ง
- การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้เอาประกันภัยก่ออาชญากรรมที่มีความผิดสถานหนัก หรือขณะถูกจับกุม หรือหนีการจับกุม
- การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้เอาประกันภัยปฏิบัติหน้าที่ ทหาร ตำรวจ หรืออาสาสมัคร และเข้าปฏิบัติการในสงคราม หรือปราบปราม
- สงคราม การรุกราน การกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างชาติ สงครามกลางเมือง การกบฏ การจลาจล การนัดหยุดงาน การปฏิบัติ การรัฐประหาร การประกาศกฎอัยการศึก
ตารางอัตราค่าธรรมเนียมการผ่าตัด/การวางยาสลบ
ช่องท้อง |
: การตัดไส้ติ่ง |
ร้อยละ 40 ของผลประโยชน์สูงสุด |
|
: การผ่าตัดลำไส้ |
ร้อยละ 70 ของผลประโยชน์สูงสุด |
ฝี |
: การผ่าฝีแห่งเดียวหรือหลายแห่ง |
ร้อยละ 5 ของผลประโยชน์สูงสุด |
นม |
: การตัดเต้านม ข้างเดียวหรือสองข้าง |
ร้อยละ 85 ของผลประโยชน์สูงสุด |
หน้าอก |
: การตัดปอดข้างเดียวออกทั้งหมด |
ร้อยละ 100 ของผลประโยชน์สูงสุด |
หลอดอาหาร |
: การผ่าตัดหลอดอาหารตีบ |
ร้อยละ 40 ของผลประโยชน์สูงสุด |
ตา |
: ต้อกระจก |
ร้อยละ 50 ของผลประโยชน์สูงสุด |
|
: ต้อหิน |
ร้อยละ 45 ของผลประโยชน์สูงสุด |
กระดูกหักหรือแตก |
: กระดูกต้นขา |
ร้อยละ 55 ของผลประโยชน์สูงสุด |
ทางเดินรังไข่-ทางปัสสาวะ |
: การผ่าตัดเปลี่ยนไต |
ร้อยละ 100 ของผลประโยชน์สูงสุด |
|
: ต่อมลูกหมาก การผ่าตัดออกทั้งหมด |
ร้อยละ 75 ของผลประโยชน์สูงสุด |
คอพอก |
: การตัดต่อมไทรอยด์ |
ร้อยละ 75 ของผลประโยชน์สูงสุด |
กะโหลกศีรษะ |
: การตัดเข้าไปในช่องสมอง |
ร้อยละ 100 ของผลประโยชน์สูงสุด |
การตรวจรักษาโดยการผ่าตัดที่ไม่จำเป็นต้องเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Day Case)
- การสลายนิ่ว
- การตรวจเส้นเลือดหัวใจโดยการฉีดสี
- การผ่าตัดต้อกระจก
- การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง
- การตรวจโดยการส่องกล้อง
- การผ่าตัดหรือเจาะไซนัส
- การรักษาริดสีดวงทวารโดยการฉีดยาหรือผูก
- การตัดชิ้นเนื้อที่เต้านม
- การตัดชิ้นเนื้อจากกระดูก
- การตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยอวัยวะใดๆ
- การตัดนิ้วมือหรือนิ้วเท้า
- การจัดกระดูกให้เข้าที่
- การเจาะตับ
- การเจาะไขกระดูก
- การเจาะช่องเนื้อเยื่อหุ้มไขสันหลัง
- การเจาะช่องเยื่อหุ้มปอด
- การเจาะช่องเยื่อบุช่องท้อง
- การขูดมดลูก
- การตัดชิ้นเนื้อจากปากมดลูก
- การรักษา Bartholin’s Cyst (โรคต่อมบาร์โธลิน)
- การรักษาโรคด้วยรังสีแกมม่า